บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อักษร บ-ป

คำถูก
คำผิด
หมายเหตุ
บรรทัด
บันทัด

บรรทุก
บันทุก

บรรลุ
บันลุ

บรรเลง
บันเลง

บรั่นดี
บะหรั่นดี

บริสุทธิ์
บริสุทธ, บริสุทธิ

บล็อก
บล็อค, บล๊อก
หลักการทับศัพท์
บ่วงบาศ
บ่วงบาศก์, บ่วงบาต, บ่วงบาท

บอระเพ็ด
บรเพ็ด, บอระเพชร

บังสุกุล
บังสกุล

บังเอิญ
บังเอิน

บัญญัติไตรยางศ์
บัญญัติไตรยางค์
เหมือน ไตรยางศ์
บรรทัด
บันทัด

บัตรสนเท่ห์
บัตรสนเท่

บันดาล
บรรดาล

บันได
บรรได

บันเทิง
บรรเทิง

บันลือ
บรรลือ

บางลำพู
บางลำภู

บาดทะยัก
บาททะยัก, บาดทยัก

บาตร
บาต
เครื่องใช้อย่างหนึ่งของพระสงฆ์
บาทบงสุ์
บาทบงส์
อ่านว่า บาด-ทะ-บง
บาทหลวง
บาดหลวง

บำเหน็จ
บำเน็จ

บิณฑบาต
บิณฑบาตร, บิณฑบาท
"บาต" ไม่ได้มาจากคำที่แปลว่า บาตร แต่รับมาจากคำภาษาบาลีว่า ปาต [ปา-ตะ] แปลว่า ตก, การตก เช่น ปิณฺฑปาต = การตกของก้อนข้าว (บิณฑบาต), อุกฺกาปาต แปลว่า การตกของคบเพลิง (อุกกาบาต), อสนิปาต = การตกของสายฟ้า (อสุนีบาต)

บิดพลิ้ว
บิดพริ้ว

บุคคล
บุคล

บุคลากร
บุคคลากร

บุคลิก
บุคคลิก, บุคลิค, บุคคลิค
มาจากคำภาษาบาลีว่า ปุคฺคลิก [ปุก-คะ-ลิ-กะ] เมื่อรับมาใช้ในภาษาไทย สะกดด้วย ค ตัวเดียว แต่อ่านว่า บุก-คะ-ลิก
บุคลิกภาพ
บุคคลิกภาพ, บุคลิคภาพ, บุคคลิคภาพ

บุปผชาติ
บุปผาชาติ

บุษราคัม
บุษราคำ, บุศ-

บูชายัญ
บูชายัน, บูชายันต์

บูรณปฏิสังขรณ์
บูรณะปฏิสังขรณ์
คำสมาส ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ แต่ยังคงออกเสียง อะ
เบญจเพส
เบญจเพศ
เพส มาจากคำว่า วีสะ แปลว่า 20; เบญจ แปลว่า 5 ดังนั้น เบญจเพส = 25
เบนซิน
เบ็นซิน, เบนซิล

เบรก
เบรค
ศัพท์บัญญัติ หรือใช้คำว่า ห้ามล้อ
ปฏิกิริยา
ปฏิกริยา

ปฏิสันถาร
ปฏิสัณฐาน, ปฏิสันถาน

ปฏิทิน
ปติทิน

ปฏิพัทธ์
ประติพัทธ์

ปฏิสังขรณ์
ปฏิสังขร

ปฐมนิเทศ
ปฐมนิเทศก์, ปฐมนิเทศน์

ปณิธาน, ประณิธาน
ปนิธาน, ประนิธาน
ตั้งใจไว้
ปรนนิบัติ
ปรณนิบัติ

ปรมาณู
ปรมณู
ปรม + อณู
ปรองดอง
ปองดอง

ประกายพรึก
ประกายพฤกษ์

ประกาศนียบัตร
ประกาศณียบัตร

ประกาศิต
ประกาษิต

ประจัญ
ประจัน
• ประจัญ = ปะทะต่อสู้ (เช่น ประจัญบาน = รบอย่างตะลุมบอน), แผลงมาจากคำเขมรว่า "ผจัญ" (ผฺจาญ่)
ประจัญบาน
ประจันบาน, ประจันบาล, ประจัญบาล
• ประจัน = กั้นเป็นส่วนสัด (เช่น ฝาประจันห้อง = ฝากั้นห้อง), เผชิญ (เช่น ประจันหน้ากัน), ฯลฯ
ประจันหน้า
ประจัญหน้า

ประจันห้อง
ประจัญห้อง

ประจำการ
ประจำการณ์

ประณต
ประนต
(กริยา) น้อมไหว้
ประณม
ประนม
(อาการนาม) การน้อมไหว้
ประณาม
ประนาม

ประณีต
ปราณีต, ประนีต

ประดิดประดอย
ประดิษฐ์ประดอย

ประนีประนอม
ประณี-, ปรานี-, ปราณี-,-ประณอม, -ปรานอม, -ปราณอม

ประมาณ
ประมาน

ประเมิน
ประเมิณ

ประโยชน์โพดผล[1]
ประโยชน์โพธิผล,
ประโยชน์โภชผล,
ประโยชน์โภชน์ผล

ประสบการณ์
ประสพการณ์
• "ประสบ" เป็นคำกริยาแปลว่าพบหรือพบปะ
ประสบผลสำเร็จ, ประสบความสำเร็จ
ประสพผลสำเร็จ, ประสพความสำเร็จ
ส่วน "ประสพ" เป็นคำนามมีความหมายว่าการเกิดผล
ในภาษาไทยจึงใช้ "ประสบ" เพียงรูปเดียว เช่น ประสบความสำเร็จ ประสบการณ์ ประสบอุทกภัย ประสบโชค
ประสูติ
ประสูต, ประสูตร

ประสูติการ
ประสูติกาล
การคลอด เช่น มีพระประสูติการ
ประสูติกาล
ประสูติการ
เวลาคลอด เช่น พระประสูติกาลตก ณ วัน 4 ขึ้น 1 เดือน 6 ย่ำรุ่ง 2 นาฬิกา เศษสังขยา 5 บาท
ประหลาด
ปะหลาด, ปลาด

ประหัตประหาร
ประหัดประหาร, ประหัตถ์ประหาร

ประหาณ, ปหาน
ประหาร
• ประหาณ, ปหาน = ละทิ้ง เช่น สมุจเฉทประหาณ (การตัดขาดและการละทิ้ง), ปหานกิเลส (ละทิ้งกิเลส)
ประหาร = ตี ฟัน ทำลาย หรือ ฆ่า เช่น ประหารชีวิต
ประหาร, ปหาร
ประหาณ, -หาน, ปะ-

ปรัมปรา
ปรำปรา, ปะรำปะรา
อ่านว่า ปะ-รำ-ปะ-รา
ปรัศนี
ปรัศนีย์

ปรากฏ
ปรากฎ
ใช้ ฏ ปฏัก
ปราณี
ปรานี
• ปราณี = ผู้มีลมปราณ หมายความว่า ผู้มีชีวิต หรือสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ และคน
ปรานี
ปราณี
ปรานี = เอ็นดูด้วยความสงสาร
ปรานีปราศรัย
ปราณีปราศัย

ปรารถนา
ปราถนา
อ่านว่า "ปราด-ถะ-หนา"
ปราศจาก
ปราศจาค

ปราศรัย
ปราศัย

ปล้นสะดม
ปล้นสดมภ์
• สะดม = รมยาให้หลับ
สดมภ์ = เสาหรือช่องตามแนวตั้ง
ปวารณา
ปวารนา

ปะทะ
ประทะ

ปะแล่ม
ปแล่ม, แปล่ม

ปักษิน
ปักษิณ

ปาฏิหาริย์
ปาฏิหาร, ปาฏิหารย์

ปาติโมกข์
ปาฏิโมกข์

ปาริชาต
ปาริชาติ
ชื่อบุคคลจำนวนมากยังใช้ ปาริชาติ อยู่
ปิกนิก
ปิคนิค
คำทับศัพท์
ปีติยินดี
ปิติยินดี
ปีติ = ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ; ปิติ ไม่มีความหมาย
ปุโรหิต
ปุโลหิต

เปอร์เซ็นต์
เปอร์เซนต์
คำทับศัพท์
เป๋อเหลอ
เป๋อเล๋อ
อักษรต่ำ ไม่ใช้วรรณยุกต์จัตวา







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น